วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

การปกครอง

การปกครองของไทย
                     ความหมายของสถาบันการปกครอง
               สถาบันการปกครอง  หมายถึง ตำแหน่งหรือองคืการวึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลประเทศ โดยได้กำหนดไว้เป็นที่แน่นอน และได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป
                   องค์ประกอบสถาบันการปกครอง
            1.องค์ประกอบของสถาบันการปกครองโดยทั่วไป ได้แก่
                  1.1 ประมุขของประเทศ
                  1.2 ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล
                  1.3 ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา
                  1.4 ฝ่ายตุลาการหรือศาล
            2.อำนาจหน้าที่ของสถาบันต่างๆจะมีมากน้อยเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับระบอบการปกครองของประเทศนั้น

                     4.1 วิวัฒนาการการปกครองของไทย วิวัฒนาการการปกครองของไทยแบ่งเป็นสมัยต่างๆ ดังนี้
                           -สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  แบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
                          -สมัยสุโขทัย มีลักษณะการปกครองที่สำคํญ  ดังนี้
                  1.กษัตริยืมีฐานะเหมือน “บิดาปกครองบุตร” ที่เรียกว่า “ปิตุราชา
                  2.ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนเป็นไปอย่างใกล้ชิด
                  3.ประชาชนขนานพระนานกษัตริย์ว่า ”พ่อขุน” เรียกข้าราชการผู้ใหญ่ว่าลูกขุนโดยเฉพาะในตอนต้นสุโขทัย
                            สมัยอยุธยา
                1.ความเชื่อของกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปตามความเชื่อของขอมที่ว่า กษัตริย์เปรียบเสมือนเทพเจ้าที่เรียกว่า เทวราชา
                2.มีการขนานนามพระมหากษัตริย์ว่า “สมเด็จ” หรือ “พระเจ้า
                3.กษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารแผ่นดินโดยอาศัยขุนนางและข้าราชการฝ่ายต่างๆ
                4.ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองเป็นดังนี้ คือ
                          - สมุหนายก  รับผิดชอบกิจกรรมพลเรือน
                          - สมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร
                5.ในด้านการศาลและกฎหมาย มีกฎหมายที่เรียกว่า “คัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์
                      สมัยธนบุรี การปกครองส่วนใหญ่คงถือตามแบบอยุธยาเป็นหลัก
                      สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
              1.ในระยะแรกถือตามแบบสมัยอยุธยาและธนบุรี
              2.การเปลี่ยนแปลงการปกครองคั้งสำคัญในสมัยรัตนโกสิทร์มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการปฏิรูปการปกครองคั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2435 ได้แก่
                  2.1 จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น 12 กระทรวง
                  2.2 ปรับปรุงการคลัง
                  2.3 ปรับปรุงการศาลตามแบบประเทศตะวันตก
                  2.4 ปรับปรุงการต่างประเทศ
                  2.5 จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในส่วนภูมิภาค
                  2.6 เริ่มทดลองการปกครองแบบสุขาภิบาลในท้องถิ่นเป็นครั้งแรก
                  2.7 โปรดให้ตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ
                ก. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State)
               ข. สภาที่ปรึกษาในพระองคื (Privy Council)
          3.ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ใช้แผนการปกครองอย่างสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ได้มีการปรับปรุงเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง คือ
              3.1 ตั้งกระทรวงทหารเรือและกระทรวงพาณิชย์
              3.2 รวมมณฑลต่างๆเข้าเป็นภาค
              3.3 ทรงวางรากฐานเพื่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นหลายอย่าง คือ
                ก.สร้างเมืองจำลองขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย เรียกชื่อว่า “ดุสิตธานี
                ข.ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา
                ค.พระราชทานเสรีภาพโดยผ่านทางหนังสือ
          4.ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระดำริพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทย แต่พอเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/groupsocial55/_/rsrc/1297240522450/karmeuxng-kar-pkkhrxng/4-kar-pkkhrxng-khxng-thiy/2475__~1.JPG?height=273&width=400

                    4.2 การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
        1.สาเหตุของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
              1.1 คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามแบบอารยประเทศ
              1.2 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้
              1.3 เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นและจีนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
              1.4 เกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้ปกครองประเทศ
         2. คณะราษฎร  ซึ่งประกอบด้วยการปกครองฝ่ายทหารและพลเรือนได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยพระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นประมุขของชาติและมีพระราชอำนาจตามขอบเขตแห่งกฎหมาย
        3.นโยบายของคณะราษฎร ที่เรียกว่า หลัก 6 ประการ มีดังนี้  คือ
              3.1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
              3.2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ
              3.3 จะต้องรักษาความสุขสมบูรณ์ของราษฎร์ในทางเศรษฐกิจ
              3.4 จะต้องให้ราษฎร์มีสิทธิเสมอภาคกัน
              3.5 จะต้องให้ราษฎร์ได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
              3.6 จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร์
        4.หัวหน้าคณะราษฎร์  คือ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
        5.การปฏิวัติดำเนินไปด้วยความเรียนร้อย เพราะพระบาลสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
        6. ไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญบับชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
        7.นายกรัฐมรตรีคนแรกของไทยคือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
        8.เหตุการณืสำคัญภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีดังนี้ คือ
              8.1 คณะราษฎร์ได้ดำเนินการตามนดยบายที่กำหนดไว้ แต่ไม่บรรลุผลเท่าที่ควร เนื่องจากสาเหตุดังนี้
                ก. คณะราษฎร์เกิดการแย่งชิงอำนาจ
                ข. คณะผู้บริหารมีความเห็นแตกแยกกันเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
                ค. ประชาชนได้รับการศึกษาน้อย ยังไม่เข้าใจรูปแบบการปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ดำเนินไปด้วยการประนีประนอมเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนในชาติ
        9.สรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยืมาเป้นระบอบประชาธิปไตยได้ดำเนินไปด้วยการประนีประนอมเพื่อความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชนในชาติ



คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/groupsocial55/_/rsrc/1297240549818/karmeuxng-kar-pkkhrxng/4-kar-pkkhrxng-khxng-thiy/06236105654abp.jpg?height=326&width=400

4.3 การปกครองของไทยในปัจจุบัน
      ภายหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 แล้ว ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
      สถาบันการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน ประกอบด้วยสถาบันและองค์กรต่างๆดังต่อไปนี้
สถาบันพระมหากษัตริย์
      1.ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ
      2.ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
สถาบันรัฐสภา
      1.รัฐสภา  หมายถึง  ที่ประชุมของผู้แทนประชาชานทั้งประเทศ เพื่อทำหน้าที่แทนประชาชนในการตราพระราชบัญญัติต่างๆ
      2.รูปแบบของรัฐสภา มี 2 แบบ คือ
          2.1 แบบสภาเดียว
          2.2 แบบ 2 สภา ได้แก่
               ก. สภาผู้แทนราษฎร์
               ข.วุฒิสภา
     3.ที่มาของสมาชิกรับสภา
         3.1 มาจากการเลือกตั้ง เช่น ในกรณีของสมาชิกผู้แทนราษฎร์
         3.2 มาจากการแต่งตั้ง เช่น ในกรณีของสมาชิกวุฒิสภา โดยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งผู้ที่พระองค์เห็นสมควรให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา


4.อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้แก่
      4.1 เสนอชื่อบุคคลที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรี
     4.2 ตราพระราชบัญญัติ
     4.3 ควบคุมรัฐบาลให้บริหารประเทศตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา
     4.4 อำนาจหน้าที่อื่นๆ เช่น
            ก.การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
            ข.การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
สถาบันรัฐบาล
      1.รัฐบาล หมายถึง คณะบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศเรียกว่า “คณะรัฐมนตรี
      2.หน้าที่ของรัฐบาล คือ
            2.1 กำหนดนโยบายในการบริหารราชกาลแผ่นดิน
          2.2 นำนโยบายและพระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาไปบังคับให้เกิดผล
       3.องค์ประกอบของรัฐบาล ได้แก่ คณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
            3.1 นายกรัฐมนตรี
              3.2 รองนายกรัฐมนตรี
            3.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
            3.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
            3.5 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
            3.6 รัฐมนตรีว่าการทบวง
      4.นายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 18 คน (พ.ศ. 2534)
      5.ที่มาของรัฐบาล รัฐบาลมีที่มา 2 ทาง คือ
          5.1 มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
          5.2 มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร        
      6.อำนาจหน้าที่ของรัฐบาล
           6.1 รักษาเอกราชและความมั่นคงของชาติ
          6.2 รักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
          6.3 พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความเจริญก้าวหน้า
          6.4 ให้บริหารด้านการศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข ฯลฯ
          6.5 จัดเก็บภาษีอากรเพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศ
      7.การบริหารราชการของรัฐบาล  แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ คือ
          7.1 การบริหารส่วนกลาง
               ก.อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วย
               ข.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน
          7.2 การบริหารส่วนภูมิภาค
                ก.อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดและอำเภอต่างๆ
                ข.ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาในเขตจังหวัด
                ค.นายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาในเขตอำเภอ
         7.3 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
                ก.เป็นการกระจายอำนาจบริหารจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น
                ข.เปิดโอกาสให้ประชาชนในส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม